วันอังคารที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

ประวัติปลาอานนท์(ฉบับพุทธ)จากชาดก


บทความนี้จัดทำขึ้นเพราะเราถูกครอบตามๆกันมาให้เชื่อตามลัทธิพราหมณ์ว่าปลาอานนท์นอนหนุนโลก ซึ่งเรื่องนี้พราหมณ์บิดเบือนจนเละเทะงมงายมานานเกินพอแล้ว

(ที่มาจากนิทานซ้อนเรื่องที่๑ในมหาสุตโสมชาดก)

อดีตกาลล่วงมาแล้วมีปลาใหญ่(ยักษ์)๖ตัวอยู่ในมหาสมุทร คือ ปลาอานนท์ ปลาอุปนนท์ ปลาอัชโชหาละทั้ง๓นี้กายยาวตัวละ ๕๐๐โยชน์(๑,๕๐๐กิโลเมตร) อีก ๓ ตัวคือ ปลาติมิงคละปลาติมิระมิงคละ ปลามหาติมิระมิงคละ ทั้ง๓นี้กายยาวตัวละ๑,๐๐๐โยชน์(๑๖,๐๐๐กิโลเมตร) ปลาทั้ง๖กินหิน(ช่วยย่อย?)และสาหร่ายปลาอานนท์อยู่ในจุดหนึ่งของมหาสมุทร มีพวกปลาเข้าไปหาเป็นอันมาก

วันหนึ่งปลาทั้งหลายจึงคิดกันว่า"พวกสัตว์๒เท้า๔เท้าทุกเหล่าย่อมมีราชา(๒เท้าคือ นก มีราชาคือหงส์ทองธตรัฐที่สูญพันธุ์ไปแล้ว ๔เท้า คือสัตว์บกทั่วไปมีพวกมฤคเป็นต้น มีราชาคือไกรสรราชสีห์)แต่พวกเราไม่มีราชาจึงควรยกปลาอานนท์ขึ้นเป็นราชา" เมื่อคิดและมีความคิดเป็นมติเอกฉันท์แล้วจึงยกปลาอานนท์ขึ้นเป็นพญาแล้วพากันไปเฝ้าทุกเวลาเช้าเย็น

วันหนึ่งปลาอานนท์กินก้อนหินและสาหร่ายอยู่ในภูเขา(ก้นทะเล)แห่งหนึ่งมีปลาตัวหนึ่งหลุดเข้าไปในปาก รู้สึกมีรสอร่อยมากจึงคายออกมาดูก็รู้ว่าเป็นเนื้อปลา จึงคิดว่า"เราอยู่มาตั้งนานไม่รู้จักกินของอร่อยเราควรหาอุบายกินปลาต่อไป" ตั้งแต่นั้นมาจึงจับปลากินวันละ๒ตัว เช้า-เย็นจนคิดว่าถ้าพวกปลารู้เข้าจะแตกหนีหมด จึงทำอย่างระมัดระวังจักกินปลาตัวที่ย่อคำนับแล้วกลับทีหลังปลาอื่นจากนั้นจึงทำตามที่คิดนั้นจนปลาทั้งหลายหมดไปโดยลำดับฝูงปลาเริ่มเกิดสงสัยไต่ถามกันไปมาว่าพวกเราหายไปไหนหนอจึงน้อยลงๆเช่นนี้

มีปลาฉลาดตัวหนึ่งเกิดสงสัยปลาอานนท์จึงไปแอบอยู่ที่หูพญาปลาอานนท์ เมื่อเห็นหมู่ปลาที่ไปเฝ้าคำนับกลับแล้วเห็นปลาอานนท์จับปลาตัวหลังสุดกินเสียปลาฉลาดนั้นจึงไปบอกฝูงปลาทั้งหลายๆจึงพากันแตกหนีไปสิ้นเมื่อปลาอานนท์ไม่พบฝูงปลาก็เที่ยวตามหาจนไปพบภูเขาลูกหนึ่งจึงคิดว่าพวกปลาคงมาอาศัยอยู่ในภูเขานี้"เราจักโอบภูเขานี้"แล้วจึงโอบภูเขาเข้าด้วยหางและศีรษะ(พราหมณ์เอ๋ยพราหมณ์ฟังไม่ได้ศัพท์จับมากระเดียดโดยแท้)แต่พอเห็นหางตัวเองก็โกรธคิดว่าพวกปลาหลอกตน (ที่แกล้งโผล่หางมายั่วโทสะ?)จึงฮุบหางตัวเองไปซะ๕๐โยชน์แล้วเกิดทุกขเวทนามีเลือดนองไปตามมหาสมุทรถึงแก่ความตายในที่สุด

ปลาทั้งหลายจึงไปประชุมกันกินซากปลาอานนท์ตลอดถึงศีรษะกระดูกปลาอานนท์นั้นกองเหมือนภูเขาใหญ่มีดาบสปริพาชกผู้สำเร็จฌานสมาบัติเหาะไปพบเข้าจึงนำมาเล่าให้พวกมนุษย์ในชมพูทวีปฟังว่า"ข้าแต่มหาราช ปลาอานนท์เป็นผู้ติดรสของปลาทั้งหลายเมื่อไม่มีปลาที่จะกินจึงกินตนเองเข้าไปถึงแก่ความตาย"

เรื่องนี้เล่าถวายพระเจ้าพรหมทัตผู้โปรดการกินเนื้อคน!

และจากประโยคนี้ คือ

จริงอยู่ คนคุยโตย่อมเป็นเหมือนปลาอานนท์. เล่ากันว่า ปลาอานนท์ (ชอบ) เอาหางอวดปลา (พวกอื่นและ) เอาศีรษะอวดงู ให้ (ปลาและงูเหล่านั้น) รู้ว่าเราเป็นเช่นกับพวกท่าน. บุคคลผู้คุยโตก็เช่นนั้นเหมือนกัน เข้าไปหานักพระสูตร หรือนักพระอภิธรรมใดๆ ย่อมกล่าวกะท่านนั้นๆ อย่างนี้ว่า ผมประพฤติประโยชน์เพื่อท่านทั้งหลาย ท่านทั้งหลายต้องอนุเคราะห์ผม ผมจะไม่ทิ้งพวกท่านหรอกดังนี้. 

ทำให้วิเคราะห์ได้ว่า ปลาอานนท์นั้น มีศีรษะเหมือนงู และมีหางเหมือนปลา เพราะทำให้ปลาและงูเห็นว่า เราเป็นเช่นกับพวกท่านได้(คือเหมือนปลาและงู) 

ส่วนตำนานการหนุนโลกนั้น คาดว่า พราหมณ์เอาภาพขณะที่ปลาอานนท์กำลังลัดภูเขากัดหางตนเองไปเป็นแบบแน่นอน และทางพราหมณ์ไม่เคยกล่าวถึงลักษณะทางกายภาพของปลาอานนท์เลย จึงเป็นไปได้สูงว่า พราหมณ์รับความรู้เรื่องปลาอานนท์ไปจากพุทธ

    อนึ่ง จากข้อมูลของปลาอานนท์ที่ได้รวบรวมไว้จากหลายที่ ทำให้ทราบว่า

๑.ปลามีขนาด ๕๐๐ โยชน์บ้าง ร่วมพันโยช์ขึ้นไปบ้าง แต่ในเรื่องนี้ ปลาอานนท์ที่มีขนาด ๕๐๐ โยชน์กลับได้รับเลือกเป็นราชา อาจเป็นด้วยว่าในยุคสมัยนั้น ปลาอานนท์ที่มีขนาดพันโยชน์ขึ้นไปอาจหาไม่ได้แล้ว(ถ้าไม่ใช่ว่าโตไปไม่ถึงขั้นนั้น ก็อาจด้วยว่าพวกที่ตัวโตจริงๆก็คงจำศีลไม่ออกมาพบปะใครเลยไม่ได้รับแต่งตั้งเป็นราชา เพราะการเลือกราชานี้น่าจะเป็นการคัดจากความอาวุโสของอายุขัยด้วย เมื่อปลาอานนท์มีอายุยืนยาวจนมีขนาดตัวได้ ๕๐๐ โยชน์แล้วจึงเหมาะสมกับตำแหน่งราชานั่นเอง)

๒.รูปแบบการใช้ชีวิตอย่างสันโดษของปลาอานนท์ที่มีขนาดตัว ๕๐๐ โยชน์นั้น ระบุว่า ปลาอานนท์กินก้อนหินและสาหร่ายอยู่ในภูเขา(ก้นทะเล) ซึ่งหมายถึง ปลาอานนท์อาศัยอยู่ในภูเขา(ถ้ำ)ใต้มหาสมุทรและกินแร่ธาตุ(ก้อนหิน)กับสาหร่ายซึ่งงอกอยู่ในภูเขานั้นเป็นอาหาร จึงสามารถอยู่ได้โดยไม่กินเนื้อสิ่งมีชีวิตใดเลย(พวกหินแร่ที่กินนอกจากจะบำรุงกำลังแล้วยังอาจมีผลในการช่วยย่อยสาหร่ายที่กินเข้าไปด้วย)

     รูปแบบการใช้ปัญญาโดยสัญชาตญาณของปลาอานนท์

    จากข้อมูลในชุดนี้แสดงให้เห็นว่า สายพันธุ์ของปลาอานนท์นั้นรู้จักการใช้ปัญญาโดยสัญชาตญาณในการล่าเป็นอย่างดี การใช้ปัญญาโดยสัญชาตญาณในการล่านี้มีอยู่ในสัตว์หลายชนิดแต่พบเห็นไม่บ่อยนัก เช่น การหลอกล่อสัตว์ต่างๆเพื่อกินเป็นอาหารอย่างการที่นกกระยางรู้จักใช้ซากปลาตัวเล็กเพื่อล่อจับปลาตัวที่ใหญากว่า รึการใช้ซากปลาเพื่อล่อจับนกของวาฬเพชฌฆาต เป็นต้น

    ซึ่งเทคนิคการใช้ปัญญาโดยสัญชาตญาณในการล่าของปลาอานนท์นั้น คือการใช้หัวที่เหมือนกับงูและหางที่เหมือนกับปลาเพื่อหลอกจับสัตว์ทั้ง๒ชนิดนี้กินเป็นอาหารโดยไม่ต้องออกแรงล่าเองเลย แต่บางตัวที่มีปัญญาโดยสัญชาตญาณสูงมากเมื่อมีอายุมากขึ้นก็จะรู้จักการถือสันโดษคือ เริ่มออกจำศีลตามถ้ำใต้ทะเลและกินแต่หินแร่กับพวกสาหร่ายเป็นอาหารจนอายุยืนยาวร่างกายแข็งแรงตัวยาวได้ถึง ๕๐๐ โยชน์ ซึ่งหากไม่กลับมาหลงติดในรสชาติของเนื้อเหมือนปลาอานนท์ในเรื่องตัวนี้และกินแต่หินแร่กับสาหร่ายต่อไปอายุของปลาอานนท์อาจยืนยาวจนตัวโตได้ถึงพันโยชน์เช่นกัน

ภาพร่างคร่าวๆตามข้อมูลของปลาอานนท์
ภาพร่างคร่าวๆตามข้อมูลของปลาอานนท์

วันพฤหัสบดีที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2558

วิเคราะห์ลักษณะ ช้างฉัททันต์(Chaddanta) - ช้าง ๖ งา

ตามอรรถกถาชาดกที่มีบันทึกในภาษาไทย ต่างบอกตามๆกันมาว่า ช้างฉัททันต์ มีงา ๑ คู่ ที่เปล่งแสง ๖ รัศมี ทว่า กลับไม่มีการขยายความว่า รัสมีนั้นมีอะไรบ้าง ซึ่ง การแปลว่า มีงา ๑ คู่ ที่เปล่งแสง ๖ รัศมี นั้น เป็นการแปลเองโดยฝ่ายไทยเพียงข้างเดียว ไม่มีการเทียบเคียงกับหลักฐานอื่นใดจากต่างประเทศ ทั้งๆที่ศาสนาพุทธเป็นศาสนาสากล (เคย)รุ่งเรืองอยู่ในฝั่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จากการค้นคว้า เราพบข้อมูลประกอบคำแปลที่แท้จริงของคำว่า ฉัททันต์ คือ ฉ แปลว่า ๖ / ทันต์ แปลว่า ฟัน ฉะนั้น ช้างฉัททันต์ตามความจริง จะต้องเป็นช้าง ๖ งา ซึ่งภาษาอังกฤษ เรียกลักษณะช้างชนิดนี้ว่า White Elephant Six Tusks แปลว่า ช้าง ๖ งา อย่างตรงตัว ซึ่งชื่อนี้เป็นที่ยอมรับกันในสากล จะมีก็แต่ไทยเท่านั้นที่ยังคงยึดว่า ช้างฉัททันต์นั้น มีงา ๑ คู่ ที่เปล่งแสง ๖ รัศมี(หากมีประเทศอื่นอีกต้องขออภัย) ซึ่งหลักฐานเก่าแกชิ้นหนึ่งเป็นภาพหินแกะสลักจากถ้ำหมายเลข ๑๐ ของถ้ำอชันตา(Ajanta)ซึ่งมีอายุราว พุทธศตรรษที่ ๗ ซึ่งมีความเก่าแก่พอที่จะยึดได้ว่า เป็นหลักฐานยืนยันลักษณะของช้างฉัททันต์ที่เก่าแก่และถูกต้องมากที่สุด และยังมีจิตรกรรมฝาผนังที่วิหารHindagalaซึ่งวาดช้างฉัททันต์มี ๖ งา เช่นกัน






ภาพจากถ้ำ Jataka สังเกตดีๆจะเห็นการซ้อนกันของงาอยู่ ๓ งา
ภาพจากถ้ำ Jataka สังเกตดีๆจะเห็นการซ้อนกันของงาอยู่ ๓ งา


และจากข้อมูลนี้ ยืนยันได้ว่า งาทั้ง ๖ ของช้างฉัททันต์ มีสีทอง!!!

https://www.facebook.com/notes/%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B9%80%E0%B8%9D%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%B1%E0%B8%A1%E0%B8%A0%E0%B8%B5%E0%B8%A3%E0%B9%8C-%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%88%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%95-%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%9B%E0%B8%B4%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%95%E0%B8%B4/%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%B0%E0%B8%AB%E0%B9%8C%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%93%E0%B8%B0-%E0%B8%8A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%89%E0%B8%B1%E0%B8%97%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B9%8Cchaddanta/560730674056079

วันอังคารที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2558

นกหัสดีลิงค์(Hastilinga)

นกหัสดีลิงค์(หัสดี/หัสดิน)นั้นโบราณกำหนดไว้ ๒ แบบ คือ มีทั้งแบบหน้า(คล้าย)ช้างและหน้า(คล้าย)นกอินทรี

หากว่ากันตามจริงนั้น ไม่ต้องมาเถียงกันเลยว่า หน้าไหนแน่คือหน้าของนกหัสดีลิงค์ที่แท้จริง เพราะมันคือหน้าจริงทั้ง ๒ แบบ โดยแบ่งลักษณะของใบหน้าตามเพศของนก ดังนี้

นกทีหน้าคล้ายช้าง คือ นกหัสดีลิงค์เพศผู้[ปุริสหัสดีลิงค์]
นกที่หน้าคล้ายอินทรี คือ นกหัสดีลิงค์เพศเมีย[อิตถีหัสดีลิงค์]

ปุริสหัสดีลิงค์(ซ้าย) / อิตถีหัสดีลิงค์(ขวา)


    ส่วนงวงของนกหัสดีลิงค์(เพศผู้)นั้น คือ ส่วนของหงอน คล้ายกับไก่งวงเฉพาะตัวผู้ที่มีหงอนย้อยลงมาคล้ายงวงช้างส่วนตัวเมียไม่มีหงอนย้อยตรงนี้ จึงทำให้ภาพนกหัสดีลิงค์ในการออกแบบยุคหลังๆมานี้าดเพี้ยนเป็นนกหัวช้างไป(ภาพคู่ของนกหัสดีลิงค์ทางภาคเหนือวาดหน้านกเพศเมียไม่มีหงอน[งวง])


แต่ด้วยความคลาดเคลื่อนบางประการในการสื่อสาร อาจด้วยว่าผู้บันทึกและวาดภาพของนกหัสดีลิงค์โดยเฉพาะเพศผู้มองเห็นนกชนิดนี้ในระยะไกล(ไม่กล้าเข้าใกล้เพราะอาจกลัวโดนเหยียบตายรึโดนจับกิน) รึอาจด้วยเห็นภาพจารึกของนกหัสดีลิงค์เพศผู้แบบผ่านๆ จึงทำให้ของลักษณะของนกหัสดีลิงค์เพศผู้ที่สืบทอดกันมาในงานจิตรกรรมโบราณของหลายชนชาติชั้นในหลังนั้นมีความคลาดเคลื่อนไป จนทำให้ออกแบบนกหัสดีลิงค์กลายเป็นนกหัวช้างไปในที่สุด



นกหัสดีลิงค์นั้นปรากฏตัวตนเป็นหลักฐานทางบันทึกครั้งสุดท้ายในสมัยพุทธกาล โดยอยู่ในช่วงต้นของประวัติพระเจ้าอุเทนแห่งกรุงโกสัมพี แคว้นวังสะ

ข้อมูลโดยรวมระบุว่า นกหัสดีลิงค์นี้เป็นนกยักษ์ที่กินทั้งเนื้อและซากศพเป็นอาหาร จึงชอบสีแดงเป็นพิเศษเพราะสีแดงนั้นดูเหมือนเนื้อสด ฉะนั้นเมื่อมนุษย์คลุมกายรึแต่งกายด้วยผ้าสีแดงจึงทำให้นกหัสดีลิงค์เข้าใจผิดว่าเป็นก้อนเนื้อจึงถูกโฉบตัวไปได้โดยง่าย มีกำลังเท่าช้าง ๕ เชือก และกินช้างเป็นอาหารด้วย นอกจากมีใบหน้าละม้ายช้างแล้ว นกยักษ์ชนิดนี้ยังมีเสียงร้องคล้ายช้างด้วย(โกญจนาท)คาดว่าใช้เสียงเพื่อลวงช้างให้สับสนจะได้จับกินโดยง่ายนั่นเอง นกหัสดีลิงค์นั้นมีขนตามลำตัวสีขาว แต่ขนบริเวณปีกจะมีสีน้ำตาล

เนื่องด้วยมีความผูกพันธ์กับศาสนาพุทธมาช้านาน นกชนิดนี้จึงมักปรากฏตัวอยู่บ่อยครั้งตามวรรณคดีและนิทานพื้นบ้านด้วย

และเป็นไปได้ว่านกชนิดนี้ถูกบันทึกไว้ในนิทานอาหรับราตีภายใต้ชื่อว่า นกร็อค(Roc) ซึ่งใบหน้าของนกร็อคเพศผู้ที่ไร้หงอนต่างกับนกหัสดีลิงค์ น่าจะเป็นใบหน้าของนกหัสดีลิงค์ในวัยเยาว์ที่หงอนยังไม่ย้อยลงมา

อนึ่ง ในบันทึกการเดินทางของพระถังซำจั๋ง มีการกล่าวถึงเปลือกของไข่ขนาดยักษ์ ซึ่งเรียกว่า ไข่ใหญ่แห่งซีเรีย เปลือกไข่นี้น่าจะเป็นของนกร็อค หรือก็คือนกหัสดีลิงค์นี้นั่นเอง


ภาพวาดนกหัสดีลิงค์หลังจากวิเคราะห์ลักษระทางกายภาพตามลายเส้นในงานศิลป์ดั้งเดิม(พยายามมองมุมใหม่แต่ก็พยายามออกแบบให้อยู่ในรูปแบบเดิม)
ภาพวาดจำลองเหตุการณ์ ประวัติพระเจ้าอุเทนแห่งกรุงโกสัมพี แคว้นวังสะ(จะเห็นได้ว่า ศีรษะของนกหัสดีลิงค์ในภาพนี้มีความคล้ายคลึงกับนกมาก โดยมีหงอนลักษณะคล้ายงวงช้างแทนที่จะเป็นปากเป็นงวงช้างอย่างภาพวาดอื่น และมีการเติมหู เขี้ยว และงาเข้าไปจนดูสับสนนิดหน่อย แต่ให้ความรู้สึกที่ดูสมบูรณ์ไปอีกแบบ)
ภาพวาดนกหัสดีลิงค์คู่ จะสังเกตได้ว่า นกหัสดีลิงค์เพศเมียนั้นถึงจะไม่มีหงอนย้อยลงมาเหมือนเพศผู้แต่ก็มีหงอนลักษณะคล้ายตุ่มขนาดเล็กเช่นกัน
นกหัสดีลิงค์ งานสำริด ศิลปะยุคล้านนา โปรดสังเกตบริเวณปากนก จะเห็นได้ชัดเจนว่า ในยุคนั้น อิมเมจของนกหัสดีลิงค์ยังไม่มีงาช้าง คาดว่า งาช้างจะถูกแต่งเติมขึ้นมาในยุคหลังจนมีผลตอการบิดเบือนข้อมูลในยุคหลังๆจนกลายเป็นว่า นกหัสดีลิงค์นั้นมีงาเหมือนช้างด้วย

https://www.facebook.com/notes/%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B9%80%E0%B8%9D%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%B1%E0%B8%A1%E0%B8%A0%E0%B8%B5%E0%B8%A3%E0%B9%8C-%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%88%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%95-%E0%B8%9B%E0%B8%B4%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%B2/%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%93%E0%B8%B0%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%AB%E0%B8%B1%E0%B8%AA%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B9%8Chastilinga/764822450313566